วันอังคารที่ 28 มกราคม พ.ศ. 2557

ประเพณีบุญเบิกฟ้า จังหวัดมหาสารคาม



                                        ประเพณีบุญเบิกฟ้า จังหวัดมหาสารคาม

  “ประเพณีบุญเบิกฟ้า ช่วงวันขึ้น ๓ ค่ำ เดือน ๓ หลังการเก็บเกี่ยวผลผลิต ชาวนาอีสานตอบแทนผืนแผ่นดินทำกิน โดยการใช้ปุ๋ยคอกทำจากมูลสัตว์กลับคืนสู่ผืนดินให้มีความอุดมสมบูรณ์อีกครั้ง อีกทั้งสายฝนแรกของปีก็กำลังจะมา ฟ้ากำลังจะร้อง เมื่อมาทิศใดก็จะทำนายความอุดมสมบูรณ์ในปีนั้นๆ ไปตามความเชื่อดั้งเดิม
   ชาวนาใช้ประโยชน์จากพื้นดินมายาวนาน ตลอดระยะเวลาการเพาะปลูก ความอุดมสมบูรณ์ของพื้นดินได้สูญสลายไป เมื่อถึงช่วงเก็บเกี่ยว เมล็ดข้าวที่เติบโตจนได้สีทองล้วนเป็นสิ่งที่ธรรมชาติได้มอบให้ ซึ่งชาวนาต่างรู้และสำนึกในบุญคุณของผืนแผ่นดิน ด้วยการคืนธาตุ คืนอาหารเป็นการตอบแทน อาการที่ว่าก็คือปุ๋ยนั่นเอง
     เดือน ๓ เดือนมหัศจรรย์ของชาวอีสาน นอกจากเป็นเดือนที่อุดมสมบูรณ์แล้วยังเป็นเดือนเริ่มต้นฤดูฝน ซึ่งจะมีเสียงฟ้าร้อง และมีความเชื่อว่าในวันขึ้น ๓ ค่ำ เดือน ๓ นี้ เมื่อมีฟ้าร้องมาจากทิศทางใดจะเป็นสัญญาณบอกถึงความอุดมสมบูรณ์ของฝนในปีนั้นๆ การทำนายดังกล่าวนับว่ามีความแม่นยำจนมีการจดบันทึกคำทำนายเป็นกลอนไว้เป็นหลักฐานชื่อว่า โสลกฝน


ประเพณีบุญบั้งไฟ จังหวัดยโสธร
    “นิทานพื้นบ้านเล่าสืบต่อกันมา ผาแดงนางไอ่ พระยาคันคาก ล้วนกล่าวถึงการจุดบั้งไฟถวายแด่พญาแถน เพื่อเป็นการขอฝนให้ตกต้องตามฤดูกาล หลาบสิบปีได้สืบทอดงานประเพณีบุญบั้งไฟ ความสวยงามของการตกแต่งขบวนที่ยิ่งใหญ่ ควันสีขาวพุ่งทะยานไปตามบั้งไฟแสนที่ขึ้นสู่ท้องฟ้า ตามมาด้วยเสียงดังสนั่น และเสียงลุ้นของผู้คน สุดเร้าได้ทุกครั้งไป
     เมื่อถึงเดือน ๖ ชาวอีสานจะมีการจัดงานประเพณีที่สำคัญ หนึ่งในฮีตสิบสอง จากความเชื่อในการบูชาพญาแถนให้ฝนตกต้องตามฤดูกาล พร้อมเข้าสู่การทำนาครั้งใหม่ และกล่าวกันว่าหากหมู่บ้านใด ชุมชนไหน มิได้จัดงานประเพณีนี้ขึ้นในปีนั้นๆ ฝนก็จะไม่ตก พื้นดินก็จะแห้งแล้งไม่สามารถทำการเพาะปลูกใดๆ ได้
เมื่อถึงวันงาน ก่อนการประกวดประชันบั้งไฟประเภทต่างๆ จะมีขบวนแห่บั้งไฟตกแต่งด้วยสีสันที่สวยงาม ตามมาด้วยเสียงดนตรีบรรเลงให้จังหวะในการเซิ้งบั้งไฟ เซิ้งกระติบ ฟ้อนขาลาย ที่เป็นเอกลักษณ์ของชาวอีสาน และอีกหนึ่งสีสัน คือ ขบวนแห่การแต่งกายล้อเลียนบุคคล ผู้ชายบางคนสวมใส่ชุดหญิงสาวออกอากัปกิริยาอ่อนช้อย สร้างเสียงหัวเราะ และความสนุกสนานให้ผู้พบเห็น 
                                                                  
                                                                                   ประเพณีบุญผะเหวด จังหวัดร้อยเอ็ด



     “ประเพณีบุญผะเหวด หรืองานบุญเดือนสี่ ภาพจำลองเรื่องราวมหาชาติชาดก ครั้งที่พระเวสสันดรกลับเข้าเมือง ที่ยิ่งใหญ่ตระการตา ของขบวนแห่ทั้ง ๑๓ กัณฑ์ ฟังเทศน์มหาชาติ แห่กัณฑ์จอบ กัณฑ์หลอน แห่ข้าวพันก้อน เทศน์สังกาด บุญใหญ่ที่สร้างความสุขสนุกสนานแก่พุทธศาสนิกชนโดยทั่วกัน” จังหวัดร้อยเอ็ด ได้เริ่มฟื้นฟูงานบุญผะเหวดขึ้นมาในปี พ.ศ.๒๕๓๔ ซึ่งได้มีการกำหนดจัดงานในวันเสาร์และวันอาทิตย์แรกของเดือนมีนาคม ณ บึงผลาญชัย และสวนสมเด็จพระศรีนครินทร์ เริ่มตันวันศุกร์ด้วยการแห่พระอุปคุต วันเสาร์ ขบวนแห่ ๑๓ กัณฑ์ และวันอาทิตย์ ฟังเทศน์มหาชาติและแห่กัณฑ์จอบ กัณฑ์หลอน ขบวนต่างๆ ล้านเกิดจากความร่วมใจของชาวบ้าน ที่แสดงออกถึงจตุปัจจัยที่ร่วมกัน ถวายแด่พระที่กำลังเทศน์อยู่ในขณะนั้น และเจาะจงถวายแด่พระที่ศรัทธาซึ่งเทศน์ในวันนั้น

เข้าสู่งานประเพณี ชาวร้อยเอ็ดจะอัญเชิญพระอุปคุตแห่รอบเมือง เพื่อปกป้องคุ้มครองมิให้เกิดภัยพิบัติและให้ทำมาค้าขึ้น จากนั้นเริ่มพิธี มหามงคลพุทธมนต์ พระอุปคุตเสริมบารมีเข้าสู่วันที่สอง ช่วงเช้าแจกสัตสดกมหาทาน บริจาคสิ่งของแด่ผู้ยากไร้ ตามด้วยไฮไลท์ของงานคือ ขบวนแห่ตำนานพระเวสสันดร ๑๓ กัณฑ์ ภาพขบวนแห่พระเวสสันดรเข้าเมืองที่สมจริง งดงามด้วยสีสันและท่วงท่าการร่ายรำ พระเวสสันดรทรงช้างมาพร้อมด้วยพระนางมัทรี ห้อมล้อมด้วยเหล่าทหารที่ยิ่งใหญ่
    ถึงวันสุดท้าย พิธีแห่ข้าวพันก้อน (ข้าวเหนียวปั้นเล็กๆ จำนวน ๑,๐๐๐ ก้อน) และเทศน์สังกาด (เป็นการพรรณนาอายุกาลของพระพุทธศาสนา เริ่มแต่ต้นจนถึงอันตรธาน) ร่วมทำบุญตักบาตร เคล้าด้วยเสียงของการเทศน์มหาชาติทั้ง ๑๓ กัณฑ์ตลอดทั้งวัน ช่วงสายๆ ขบวนแห่ถวายต้นเงิน หรือต้นกัณฑ์จอบ กัณฑ์หลอนของพุทธศาสนิกชนนำมาถวายพระภิกษุภายในบึงผลาญชัย นอกจากนั้นยังมีกิจกรรมการจัดประกวดธงผะเหวด การประกวดภาพวาด ภาพถ่ายประเพณีบุญผะเหวด การแข่งกินขนมจีน สร้างความสนุกสนานได้ตลอดงาน
     - วันเวลาการจัดงาน : ช่วงต้นเดือนมีนาคมของทุกปี (บุญเดือนสี่)
    - สถานที่จัดงาน : บึงผลาญชัย สวนสมเด็จพระศรีนครินทร์ อ.เมืองร้อยเอ็ด



                                   ประเพณีสี่เผ่าไทศรีสะเกษและเทศกาลดอกลำดวน
     สัมผัสเอกลักษณ์ของแต่ละชนเผ่า ส่วย ลาว เยอ และเขมร วิถีชีวิต ความเชื่อ การแต่งกาย ภายใต้ทิวไม้ที่สะพรั่งด้วยดอกลำดวนบานเต็มสวนสมเด็จพระศรีนครินทร์
    จากความร่วมมือของจังหวัดศรีสะเกษ มูลนิธิสวนสมเด็จพระศรีนครินทร์ การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจังหวัดศรีสะเกษ ได้ทำให้งานเทศกาลดอกลำดวนบาน สือสานประเพณีดอกลำบวน เป็นรูปเป็นร่างขึ้นโดยใช้สถานที่บริเวณสวนสมเด็จพระศรีนครินทร์ในบริเวณวิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีศรีสะเกษ เป็นสถานที่จัดงาภายใต้ร่มเงาของต้นไม้ใหญ่ บรรยากาศภายในสวนสมเด็จพระศรีนครินทร์ศรีสะเกษ ต้นไม้ใหญ่ปกคลุมสร้างความร่มรื่น และเย็นใจให้แก่ผู้เข้าร่วมงาน ท่ามกลางใบไม้เขียวประดับด้วยดอกลำดวนหน้าตาคล้ายกับขนมกลีบลำดวนที่เราคุ้นเคย ยามเย็นสายลมอ่อนพัดพากลิ่นดอกลำดวนหอมแบบไทยๆ ชวนนึกย้อนสู่วันวาน นั่งชมการแสดงทางวัฒนธรรม วิถีชีวิตของชนเผ่าไทศรีสะเกษ ส่วย เขมร ลาว เยอ ความหลากหลายกลายเป็นเสน่ห์ของผู้คนชาวอีสานใต้ ที่สามารถถ่ายทอสู่สายตาทุกคู่ได้อย่างลึกซึ้ง พร้อมด้วยกิจกรรมร่วมสมัย ไล่เรียงจากการแสดงภาพเขียน งานศิลปะของศิลปินระดับชาติและท้องถิ่น การแสดงศิลปะพื้นบ้าน กิจกรรมลานธรรม สักการบูชาพระบรมสารีริกธาตุและรูปหล่อพระเกจิอาจารย์ชื่อดังของจังหวัดศรีสะเกษ และกิจกรรมเชิดชูผู้สูงอายุ ให้สมกับที่ดอกลำดวนนั้นเป็นสัญลักษณ์ของผู้สูงอายุ



                                             งานบุญข้าวสากหรือข้าวสลาก                                               

     บุญข้าวสาก  (สลากภัต) คือ การทำบุญอุทิศส่วนกุสลไปให้กับเปรต ซึ่งงานบุญข้าวสากกับงานบุญข้าวประดับดินในเดือน ๙ จะมีความคล้ายคลึงกัน นั่นคือ เป็นการทำบุญอุทิศส่วนกุศลให้กับเปรตและผู้ล่วงลับไปแล้วมูลเหตุของการเกิดงานบุญข้าวสาก สืบเนื่องมาจากในสมัยพุทธกาล มีชายหนุ่มผู้หนึ่งอาศัยอยู่กับมารดา ส่วนบิดาเสียชีวิตแล้ว เมื่อถึงวัยที่ต้องแต่งงาน มารดาจึงหาผู้หญิงมาให้ชายหนุ่มจึงแต่งงานกับหญิงสาวผู้นั้น แต่อยู่กันมานานก็ไม่มีบุตรสักที มารดาจึงหาภารยาให้ใหม่ พออยู่กินมาไม่นานภารยาน้อยก็ตั้งครรภ์ ภารยาหลวงเกิดอิจฉาจึงคิดวางแผนบอกกับภรรยาน้อยว่าถ้าตั้งครรภ์ภรรยาน้อยต้องบอกนางเป็นคนแรก เมื่อภรรยาน้อยตั้งครรภ์ นางจึงบอกกับภรรยาหลวง ภรรยาหลวงจึงนำยาที่ทำให้แท้งให้ภรรยาน้อยกิน พอภรรยาน้อยตั้งครรภ์ครั้งที่สองภรรยาหลวงก็นำยาแท้งให้กินอีกพอครั้งที่สามภรรยาน้อยไม่บอกภรรยาหลวงแต่หนีไปอาศัยอยู่กับญาติ ภรรยาหลวงจึงตามไปแล้วให้ยากินอีก แต่คราวนี้ไม่แท้งเพราะครรภ์แก่แล้ว แต่ลูกในท้องนอนขวางทำให้บีบหัวใจจนตาย ก่อนที่ภรรยาน้อยจะตายนางได้จองเวรกับภรรยาหลวงว่า ชาติหน้าของให้นางได้เกิดเป็นยักษิณีและให้ได้กินภรรยาหลวงและลูกของภรรยาหลวง



                                               

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น